แหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์

ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์

• ศาลหลักเมือง ศาลหลักเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งชาวบุรีรัมย์นับถือศรัทธาและมีมากราบไหว้ในโอกาสต่างๆ ตลอดปี เดิมเป็นศาลขนาดเล็ก จึงได้รื้อและก่อสร้างขึ้นใหม่ เมื่อ ปี 2548 -2550 ให้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบมาจากปราสาทหินพนมรุ้ง คงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นบุรีรัมย์อย่างชัดเจน ความแปลกประการหนึ่งคือ เสาหลักเมืองบุรีรัมย์ที่ปรากฏ มีอยู่ 2 ต้น มีข้อสันนิษฐานว่า เสาต้นที่ 1 (ต้นเอียง) เป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อสร้างเมืองแปะ ส่วนเสาหลักเมืองต้นที่ 2 น่าจะเป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อมีฐานะเป็นจังหวัดบุรีรัมย์ และสร้างใกล้ชิดติดกัน

พระบราราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 • พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่พสกนิกรชาวบุรีรัมย์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แห่งผู้สถาปนาเมืองบุรีรัมย์ และเพื่อเป็นอนุสรณ์สักการะ รวมทั้งศูนย์รวมจิตใจที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมหาจักรีบรมราชวงค์

ความเป็นมาในการก่อตั้งเมืองบุรีรัมย์  เมื่อพ.ศ. 2319  รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกรุงธนบุรี พระยานางรองคบคิดเป็นกบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์  จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อยังดำรงตำแหน่ง เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพไปปราบ  และรวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้น เรียกว่า “เมืองแปะ” แต่งตั้งบุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง)ให้เป็นเจ้าเมือง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยานครภักดี ประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือต้นราชการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะเป็น บุรีรัมย์

4644

ศูนย์วัฒนธรรมบุรีรัมย์

• ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ถนนจิระ เป็นสถานที่รวบรวมจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุอันมีค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจและเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย นิทรรศการที่จัดแสดงมีหลากหลายหัวข้อ อาทิ แหล่งที่ตั้งชุมชนโบราณของจังหวัดบุรีรัมย์ประวัติศาสตร์จังหวัดบุรีรัมย์ ช้างกับส่วย ศาสนาและความเชื่อ ผ้าและวิถีชีวิต ห้องเตาเผาและเครื่องเคลือบบุรีรัมย์ และวิถีชีวิตชาวบุรีรัมย์ เช่น ลักษณะภายในครัวเรือน เครื่องมือในการทำมาหากิน และเครื่องดนตรีอีสาน เป็นต้น เปิดทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30–16.30 น. สอบถามรายละเอียด โทร. 0 4461 1221 ต่อ 159

2 thoughts on “แหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์

  1. bee พูดว่า:

    รบกวนให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ช่วยถ่ายทำวี ดี โอ ประเพณีวัฒนธรรมขึ้นเขาพนมรุ้งหรือประเพณีอื่นๆที่เป็นของจังหวัดบุรีรัมย์ แล้วนำไปลง YouTube
    ลูกหลานจะได้ไม่ลืมบ้านเกิดตัวเอง พยายามเปิดหาในYouTube ไม่มี เสียดายความเป็นประเพณีหมดของจังหวัดบุรีรัมย์ ณ เวลานี้คำถามที่ถูกถามบ่อยเมื่อพูดถึงจังหวัดบุรีรัมย์ที่สุดและหดหู่ใจ บุรีรัมย์อยู่ที่เขมร ห่างจากประเทศไทยกี่กิโลเมตร เป็นอย่าไรจังหวัดนี้กานดานมากไหม มีอะไรให้ดู เราเฝ้าดูการทำงานของสำนักงานตั้งแต่สมัยเรียนจนบัดนี้เรียนจบทำงานก็งัยไม่ไปถึงไหนเลย
    หน้าน้อยใจจริงๆสำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์นั่งทำอะไรกันอยู่ทำการ โปรโหมดหน่อยค่ะ จังหวัดนี้มีคุณค่ามากทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมการแต่งการที่สวยงามแม้กระทั่งวิถีความเป็นอยู่ถ้าช่วยกันดูแล
    เรียนคนที่อ่านหรือคนที่ทำงานอยู่ที่สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์
    เราหนึ่งคนไม่สามารถที่จะโปรโหมดให้คนอีกหลายร้อยประเทศรับรู้ได้หมดหรอกว่าจังหวัดบุรีรัมยมีอยู่ในประเทศไทย และเราไม่สามารถพูดได้10 ภาษา
    เราในฐานะบ้านเกิดเมืองนอนอยู่ที่บุรีรัมย์ แต่ไม่ได้อาศัยอยู่บุรีรัมย์ แต่มีสายเลือดบุรีรัมย์

    • burirambta พูดว่า:

      ขอบคุณค่ะ สมาคมท่องเที่ยวบุรีรัมย์เป็นองค์กรเอกชน แต่ก็ยินดีที่จะประสานกับ สนง.การท่องเที่ยวฯ ต่อไปค่ะ

ใส่ความเห็น